วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นวัตกรรม.........

อนวัช ธนสีลังกูร  ปี 3/3   รหัส 54091302153





1.ความหมายของนวัตกรรม

ตอบ  นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น 





2.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


ตอบ หมายถึง    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ



3.ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา


  ตอบ   เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ นักเรียน และนักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลาย หรือ เสมือนหนึ่งมี " ห้องสมุดโลก"  (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส  ตัวอย่างเช่น ครูและนักเรียนสามารถค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่ และเวลา (Anywhere & Anytime) คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่อง มาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดีสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน มากยิ่งขึ้น เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืช  ธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  ข้อมูลทาง ประวัติศาสตร์ชุมชน ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน  เพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเด็ก ทั่วโลกในขณะที่ครูสามารถ นำ เนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ลงในเว็บไซต์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา และแลกเปลี่ยนภายในวงการซึ่งกันและกัน

4.บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ตอบ
1. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2. เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4. เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย



5.คำที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ตอบ

1. การจัดการ หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างเฉลียวฉลาด และคุ้มค่า ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) หมายถึงการตัดสินใจอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติการได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผลสำเร็จของการจัดการต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป 
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
2. นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
3. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
4. ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของสถานที่ ฯลฯ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยำครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล
5. สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ 
6. ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง
7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศ ช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
8. การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
9. เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ
10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์ หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้ใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้ มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไร้สาย
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสารสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสื่อสารนั้น จะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของใช้งาน เช่น บางครั้งอาจจะใช้เทคโนโลยีดาวเทียม เครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบ e-Learning หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาการศึกษา






--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7


1. จงอธิบายถึงผลกระทบของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

  1.1        ด้านเศรษฐกิจ
    = ทำให้สังคมมีชีวิตที่เร่งรีบและมีการแข่งขันที่สูง คนที่ใช้สมองจะมีเงินเดือนมากกว่าคนใช้แรงงานทำให้เกิดคนชั้นกลางมากขึ้น และส่งผลถึงสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยการทำลายสิ่งแวดล้อมก็จะทำได้เร็วขึ้น

  1.2        ด้านการศึกษา
       =การเรียนรู้สามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็วซึ่งทำให้เปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิม เช่นผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนหรือวิชาที่ตัวเองชอบได้เองโดยไม่ต้องมีตรารางเรียน และเทคโนโลยียังส่งผลถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้การเรียนการสอนก็จะได้รับผลกระทบตามมาด้วย

  1.3        ด้านกฏหมาย ศีลธรรม จริยธรรม
     = ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อชีวิตมีความเร่งรีบ มีการแข่งขันที่สูงทำให้คนในสังคมเกิดการเห็นแก่ตัวไม่สนใจคนรอบข้างคิดหาแต่หนทางที่จะเอาเปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ต่อตนเองโดยไม่คิดว่าคนอื่นจะเดือดร้อนเพียงใด

2.จากผลกระทบข้อที่ 1 นักศึกษาคิดว่า ผลกระทบด้านใดมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามาก
  ที่สุด จงอธิบายมาพอสังเขป
 =  ด้านเศรษฐกิจ เพราะ เป็นปัจจัยหรือปัญหาหลักของทุกปัญหา เช่น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการผลิตสินค้าที่ออกมาใหม่อยู่ตลอด เกิดการแข่งขันที่สูง สิ่งแวดล้อมรอบตัวถูกทำลายส่งผลไปถึงเรื่องของสุขภาพที่จะเกิดขึ้นตามมา

3.จงบอกผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา
    = ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีเนื้อหาที่หลากหลาย การสืบค้นข้อมูลต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้รับข่าวสารใหม่ๆอยู่ตลอดทำให้สามารถปรับตัวหรือการใช้ชีวิตได้ทันเหตุการณ์

4.จงบอกผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
  ของนักศึกษา
    =ทำให้เกิดช่องว่างทางการศึกษา เช่น ระหว่างเด็กที่อยู่ในเมืองกับเด็กที่อยู่ตามชนบท และการเรียนรู้อาจมีความเบื่อหน่ายเพราะเด็กต้องเรียนเรื่องเดิมๆอยู่ตลอดเด็กจึงไม่ใส่ใจจึงทำให้การเรียนไม่เิกิดความรู้ และทำให้การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างไม่มีความสุขเพราะ การมีชีวิตที่เร่งรีบ บวกกับการมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตามไปด้วย

อนวัช ธนสีลังกูร   2/3  เลขที่ 25   54091302153

แบบฝึกหัดท้ายบท ที่ 6

แบบฝึกหัดท้ายบท ที่ 6

1.แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลกประเภทหนึ่ง ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้กำหนดไว้มี 3 ประเภท คือ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรสารสนเทศ อันถือว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าที่เกิดจากภูมิปัญญาของมนุษย์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาสามารถเพิ่มเติมโดยไม่หมดสิ้น ทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ในสภาพสังคมปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ทำให้มีการถ่ายทอดสารสนเทศออกมาในปริมาณที่มากมายมหาศาลและหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์รูปแบบต่าง ๆ ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ เช่น โสตทัศนวัสดุและวัสดุย่อส่วน ตลอดจนทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ จะเห็นได้ว่าสารสนเทศบรรจุอยู่สื่ออันมีรูปแบบแตกต่างมากมายกว่าในอดีตและแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก ดังนั้น ห้องสมุดจึงไม่ใช่แหล่งสารสนเทศเพียงแหล่งเดียวที่ผู้ใช้จะหาสารสนเทศที่ต้องการได้ แต่ยังสามารถเสาะแสวงหาสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ผู้ใช้จึงควรเลือกแหล่งและทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการเพื่อจะได้สามารถนำสารสนเทศไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
คำว่า “แหล่งสารสนเทศ” หมายถึง แหล่งที่เกิด / แหล่งผลิต และ/หรือ แหล่งที่เป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารสนเทศใน รูปลักษณ์ที่หลากหลายไว้ให้บริการ โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมในการให้บริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่าง ๆ กัน
2.เราสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที่ใดได้บ้าง และในแหล่งนั้นๆ มีข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบใดตอบ 1. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน จำแนกได้ดังนี้
•ห้องสมุด (Library) คือสถานที่รวมทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิชาต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปของวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ รวมทั้งฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารงาน และดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด

• ศูนย์สารสนเทศ (Information Center) แหล่งสารสนเทศประเภทนี้แต่ละแหล่งมีชื่อต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อบริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น ศูนย์สารสนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ศูนย์เอกสารประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยี และศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
2. แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ ได้แก่ อนุสาวรีย์ โบราณสถาน อุทยานแห่งชาติรวมถึงสถานที่จำลองด้วย เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปราสาท หินพิมาย เมืองโบราณ เป็นต้น แหล่งสารสนเทศเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ทั้งยังเป็นแหล่งที่เข้าถึงได้ไม่ยากนัก ข้อด้อยของแหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ก็คือ สถานที่บางแห่งอยู่ไกล การเดินทางไปสถานที่แห่งนั้นต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
3. แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ ในสาขาต่างๆ ผู้ต้องการ สารสนเทศจากบุคคลต้องไปพบปะสนทนาหรือสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญนั้นโดย ตรงจึงจะได้สารสนเทศที่ต้องการ
4. แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การประชุมการสัมมนาในเรื่องต่าง ๆ นิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ เช่น "14 ตุลา"ในปี พ.ศ. 2516 "พฤษภาทมิฬ" ในปี พ.ศ. 2535 เป็นต้น
5. ศูนย์บริการสารสนเทศแบบซีดีรอม และแบบออนไลน์ ศูนย์บริการประเภทนี้มีวิวัฒนาการ สืบเนื่องมาจากศูนย์สารสนเทศที่ได้อธิบายไปข้างต้น เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ก้าวหน้ามากขึ้น ศูนย์ฯ จึงนำ IT มาเป็นเครื่องมือ ในการให้บริการแก่ลูกค้า เพราะสามารถให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่า IT ที่ ศูนย์บริการสารสนเทศนำมาใช้มีทั้งการจัดทำเป็นซีดีรอมให้ผู้ขอซื้อบริการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ บรรดาห้องสมุดต่างๆ และการจัดบริการออนไลน์ ให้ห้องสมุดต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาบทความ ในฐานข้อมูลที่ศูนย์ได้จัดทำขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ซีดีรอมนั้น มีปัญหาในเรื่อง ความสมบูรณ์ และทันสมัยของเนื้อหา ดังนั้นจึงนิยมใช้การค้นแบบออนไลน์มากกว่า แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

6. อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย สำนักข่าวสาร และสมาคมวิชาชีพ ต่างก็จัดทำข้อมูลประชาสัมพันธ์ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศมากมาย การที่จะได้มาซึ่ง
ข้อมูลที่ต้องการจึงต้องรู้ที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการ โดยเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์ในการค้นหาที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการคือ Search Engine ซึ่งมีหลายลักษณะ คือ
• Major Search Engine - Search Engine ที่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง เป็น Search Engine ชั้นนำ เพื่อค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ เช่น
Google.com,Yahoo.com
• Meta Search Engine - Search Engine ที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตนเองแต่อาศัยฐานข้อมูลจาก Search Engine อื่น ๆ หลายแห่งมาแสดง
• Directory Search Engine - Search Engine ประเภทหนึ่ง ที่มีการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นหมวดหมู่



3.จงยกตัวอย่างแหล่งสืบค้นข้อมูล(search engine) ว่ามีชื่ออะไรและมีรูปแบบและเทคนิค
การสืบค้นข้อมูลอย่างไรมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

ตอบ การค้นหาในรูปแบบ Index Directory 
วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีขิง Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
4.จงบอกลักษณะของการบริการต่างๆ และยกตัวอย่างช่อแหล่งที่ให้บริการต่อไปนี้
4.1 FTP

ตอบ ftp คืออะไร FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ (server) โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม ไฟล์ซิลลา CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
4.2 E-mail
ตอบ e-mail เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบโทรคมนาคม ข่าวสารหรือข้อความของ e- mail จะเป็นไฟล์ประเภทข้อความ อย่างไรก็ตามสามารถส่งไฟล์ประเภทอื่น เช่น ไฟล์ประเภทภาพหรือเสียง เป็นไฟล์ที่แนบไปในรหัสแบบ binary โดย e- mail เป็นสิ่งแรกที่ใช้อย่างกว้างขวางในอินเตอร์เน็ต และเป็นสัดส่วนใหญ่ในการใช้ traffic บนอินเตอร์เน็ต e- mail สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้ของ online service provider กับระบบเครือข่ายอื่น นอกจากนี้ ภายในอินเตอร์เน็ต e- mail เป็นโปรโตคอลแบบหนึ่งที่รวมอยู่ใน Transport Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) โปรโตคอลที่นิยมสำหรับการส่ง e- mail คือ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และโปรโตคอล ที่นิยมในการรับ e- mail คือ POP3 ทั้ง Netscape และ Microsoft ได้รวม e- mail และส่วนประกอบการทำงานใน web browser
4.3 ICQ
ตอบ ICQ สำหรับคนรุ่นใหม่ผู้ใช้งาน Instant Messaging หรือ IM คงอาจไม่รู้จัก ICQ ผู้นำ IM ในยุคแรกๆ ปัจจุบัน ICQ ยังเป็นอีกหนึ่งฟรี IM ที่ยังคงผุ้ใช้งานมากพอสมควร ถึงแม้จะไม่ดังเท่า MSN, Yahoo IM ก็ตาม แต่ถ้าเราลองมาเปรียบเทียบ ความสามารถแบบตัวต่อตัว หรือ Features ต่อ Features ผมก็ยังเห็นว่า ICQ กินขาด เพราะ ICQ ยังมีความสามารถมากมายก่ายกอง ไม่ว่าจะเป็นเรือง การส่งเสียง (Voice) หรือวีดีโอ (Video Chat) รวมทั้งสามรถเล่นเกมส์ (Game Center) เตือนวันเกิด และอื่นๆ อีกมากมาย

4.4 Web board
ตอบ เว็บบอร์ด (อังกฤษ: web board, webboard) คือลักษณะของเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนบทสนทนา การพูดคุย การอภิปรายในสังคมออนไลน์ นอกจากชื่อเว็บบอร์ดแล้ว ยังมีเรียกกันหลายชื่อไม่ว่า กระดานข่าว กระดานข่าวสาร กระดานสนทนา กระดานสนทนาออนไลน์ ฟอรัม เว็บฟอรัม เมสเซจบอร์ด บุลลิทินบอร์ด ดิสคัชชันบอร์ด ฯลฯ หรือเรียกอย่างสั้นว่า บอร์ด ก็มี
เรื่องราวที่มีการพูดคุยในแต่ละเว็บบอร์ดจะมีการแตกต่างกันไปในแต่ละเว็บบอร์ด บางเว็บบอร์ดจะมีหลายหัวข้อโดยแบ่งแยกย่อยออกไปเช่นที่ปรากฏได้แก่ เครกส์ลิสต์ กูเกิล กรุ๊ปส์หรือ ยาฮู! รู้รอบ หรือตัวอย่างในเว็บบอร์ดไทยได้แก่ พันทิป ประมูล และ เอ็มไทย และหลายเว็บบอร์ดมีเรื่องพูดคุยเฉพาะทางตัวอย่างเว็บบอร์ดไทยอาทิ ไทยแวร์ นาริสา ในด้านคอมพิวเตอร์ หรือ Soccersuck ในด้านฟุตบอล Thaigaming ในด้านวิดีโอเกม ส่วนเว็บบอร์ดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นคือ 2channel
การใช้งาน
ผู้ใช้งาน
เราสามารถจำแนกผู้เข้าใช้งานกระดานข่าวสารได้เป็น 4 ส่วนตามลักษณะสิทธิของการเข้าถึง คือ
1.ผู้ดูแลระบบสูงสุด - ผู้ที่มีอภิสิทธิ์เหนือกว่าทุกคนและมีสิทธิพิเศษที่ผู้อื่นไม่มี คือ การลบผู้ใช้งานที่อยู่ระดับต่ำกว่าตนเอง เป็นต้น
2.ผู้ดูแลระบบทั่วไป - ผู้ที่เข้าไปจัดการกับกระทู้ต่างๆให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น การย้ายกระทู้ไปในหมวดที่ถูกต้อง ลบกระทู้เก่าๆ เป็นต้น 
3.ผู้ใช้ที่เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน - ผู้ใช้งานที่มีสิทธิบางอย่างเหนือกว่ามากกว่าผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ได้แก่ การแก้ไขคำตอบกระทู้ และการลบกระทู้ของตัวเอง เป็นต้น 
4.ผู้ใช้ที่ไม่ประสงค์ออกนาม - ผู้ที่ไม่ได้เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน จะไม่ได้รับสิทธิบางประการ เช่น การแก้ไขตอบกระทู้ ลบกระทู้ของตัวเอง เป็นต้น 
ผู้ใช้ที่ไม่ประสงค์ออกนามมีสิทธิพิเศษบางอย่างที่ไม่เป็นที่พึงต้องการ คือ การก่อกวนกระทู้หรือการปั่นกระทู้ แต่ผู้ดูแลระบบก็สามารถระงับการก่อกวนกระทู้ได้โดยการใช้บทลงโทษที่ได้กำหนดเอาไว้แล้วในส่วนของผู้ควบคุมระบบ
ผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการเว็บบอร์ดสามารถมีเว็บบอร์ดของตัวเองได้หลายวิธีไม่ว่า เขียนโปรแกรมสร้างเว็บบอร์ดของตัวเอง ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว หรือขอบริการติดตั้งเว็บบอร์ดส่วนตัวผ่านผู้ให้บริการ


อนวัช ธนสีลังกูร 2/3 เลขที่ 25  54091302153

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรู้เรื่องกีฬา


อนวัช ธนสีลังกูร เลขที่ 25  ปี 2/3 รหัส 54091302153


ความรู้เรื่องกีฬา



1. ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer
http://www.sportphet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=498999

2. บาสเกตบอล  ( Basketball ) 
http://www.kruchai.net/histhory_Bas.html


3. ปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนีส ( TABLE TENNIS)
http://hilight.kapook.com/view/72172





4. เทนนิส (Tennis)
http://www.educatepark.com/story/tennis.php


5. วอลเลย์บอล (Volleyball)

6. ยกนํ้าหนัก (weight lifting)

7. กรีฑา (athletics)

8. มวยไทย (Thai Boxing)

9. ว่ายน้ำ(Swimmimg)

10. มวยปล้ำ (Wrestling) 

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5


1.จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด

ตอบ  จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ใช้ในสมัยแรก ๆ นั้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมาก ๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่ามาก อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์มาก การทำงานจะให้มีประสิทธิภาพสูงจะ ต้องทำเป็นหมู่คณะ หรือทีมเวิร์ค (Teamwork) คอมพิวเตอร์ก็ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ก็จำเป็นที่ต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกันเช่นกัน ฉะนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องอื่นก็เปรียบเสมือนคนที่ชอบความสันโดษ ในการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น เป็นสาเหตุที่เนื่องมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานแบบนี้ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว ๆ 



2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


ตอบ  อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ 
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
- มหาวิทยาลัยมหิดล 
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ 
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้าง 
และมี URL ว่าอย่างไร



ตอบ  Ji-Net 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider) ชั้นนำในประเทศ โดยการร่วมทุนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท.) โดยใช้ชื่อบริการว่า “Ji-NET” โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual), บริการอินเตอร์เน็ตสำหรับหน่วยงาน/องค์กร (Corporate), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านวงจรคู่สายเช่า (Ji-NET Leased-Line Internet), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet), การให้บริการรับฝากข้อมูล (Data Center), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม iPSTAR 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้ริเริ่มให้บริการ BranchConnext บริการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา ด้วยโครงข่ายการสื่อสาร ADSL และเทคโนโลยีเครือข่ายส่วนบุคคล VPN เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจ โดยบริษัทได้รับความไว้วางใจและการยอมรับจากหลากหลายผู้นำทางธุรกิจ ลูกค้าที่บริษัทฯได้ให้บริการติดตั้งเครือข่ายไปแล้วได้แก่ MK Restaurant, เทเวศร์ประกันภัย, ปูนซีเมนต์, และ เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ เป็นต้น 
http://www.ji-net.com/ 



4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไรบ้าง และทำหน้าที่อะไร


ตอบ  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP (Internet Service Provider) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ติดตั้งอุปกรณ์ในประเทศไทย โดยการดำเนินการให้บริการดังกล่าว บริษัทต้องปฎิบัติตาม เงื่อนไขต่างๆที่กำหนดในสัญญา ตลอดจนปฎิบัติตามกฎหมายมติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และ นโยบาย ของ กสท. 
ปัจจุบันนี้ ISP ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ตามกฎหมายมี 20 ราย ตามรายชื่อต่อไปนี้ 

1. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 
2. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 
3. แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต ( เวิลด์เน็ท ) ( ประเทศไทย ) จำกัด 
4. จัสมินอินเทอร์เน็ต จำกัด 
5. เอ-เน็ต จำกัด 
6. อี-ซี่ เน็ท จำกัด 
7. สามารถอินโฟเน็ต จำกัด 
8. บริษัท อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด 
9. ดาต้าลายไทย จำกัด 
10. ฟาร์อีสท์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 
11. บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด 
12. เอเชียอินโฟเน็ต จำกัด Ltd. 
13. ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย ) 
14. เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 
15. ชมะนันทน์ เวิลด์เน็ท จำกัด 
16. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 
17. บริษัท โอทาโร จำกัด 
18. บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด 
19. บริษัท KIRZ จำกัด 
20. บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 
ตัวอย่าง

ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 
ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 

ANET 
บริษัท เอเน็ต จำกัด 
เอเน็ต ให้บริการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ 
- บริการรายบุคคล 
เป็นบริการที่เหมาะกับสมาชิกรายบุคคล หรือ องค์กรขนาดย่อม 
- บริการระดับองค์กร 
เป็นบริการที่เหมาะสำหรับองค์กรระดับกลาง 
ขึ้นไป ซึ่งมีบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่องค์กรต่างๆ 
โดยแบ่งการบริการเป็นแบบ Dial-in, ADSL, 
ISDNCorporate Leased Line 



5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน


ตอบ  IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น

การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง 




อนวัช  ธนสีลังกูร   2/3   เลขที่ 25