วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5


1.จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด

ตอบ  จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ใช้ในสมัยแรก ๆ นั้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมาก ๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่ามาก อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์มาก การทำงานจะให้มีประสิทธิภาพสูงจะ ต้องทำเป็นหมู่คณะ หรือทีมเวิร์ค (Teamwork) คอมพิวเตอร์ก็ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ก็จำเป็นที่ต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกันเช่นกัน ฉะนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องอื่นก็เปรียบเสมือนคนที่ชอบความสันโดษ ในการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น เป็นสาเหตุที่เนื่องมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานแบบนี้ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว ๆ 



2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


ตอบ  อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ 
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
- มหาวิทยาลัยมหิดล 
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ 
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้าง 
และมี URL ว่าอย่างไร



ตอบ  Ji-Net 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider) ชั้นนำในประเทศ โดยการร่วมทุนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท.) โดยใช้ชื่อบริการว่า “Ji-NET” โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual), บริการอินเตอร์เน็ตสำหรับหน่วยงาน/องค์กร (Corporate), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านวงจรคู่สายเช่า (Ji-NET Leased-Line Internet), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet), การให้บริการรับฝากข้อมูล (Data Center), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม iPSTAR 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้ริเริ่มให้บริการ BranchConnext บริการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา ด้วยโครงข่ายการสื่อสาร ADSL และเทคโนโลยีเครือข่ายส่วนบุคคล VPN เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจ โดยบริษัทได้รับความไว้วางใจและการยอมรับจากหลากหลายผู้นำทางธุรกิจ ลูกค้าที่บริษัทฯได้ให้บริการติดตั้งเครือข่ายไปแล้วได้แก่ MK Restaurant, เทเวศร์ประกันภัย, ปูนซีเมนต์, และ เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ เป็นต้น 
http://www.ji-net.com/ 



4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไรบ้าง และทำหน้าที่อะไร


ตอบ  ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP (Internet Service Provider) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ติดตั้งอุปกรณ์ในประเทศไทย โดยการดำเนินการให้บริการดังกล่าว บริษัทต้องปฎิบัติตาม เงื่อนไขต่างๆที่กำหนดในสัญญา ตลอดจนปฎิบัติตามกฎหมายมติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และ นโยบาย ของ กสท. 
ปัจจุบันนี้ ISP ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ตามกฎหมายมี 20 ราย ตามรายชื่อต่อไปนี้ 

1. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 
2. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 
3. แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต ( เวิลด์เน็ท ) ( ประเทศไทย ) จำกัด 
4. จัสมินอินเทอร์เน็ต จำกัด 
5. เอ-เน็ต จำกัด 
6. อี-ซี่ เน็ท จำกัด 
7. สามารถอินโฟเน็ต จำกัด 
8. บริษัท อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด 
9. ดาต้าลายไทย จำกัด 
10. ฟาร์อีสท์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 
11. บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด 
12. เอเชียอินโฟเน็ต จำกัด Ltd. 
13. ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย ) 
14. เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 
15. ชมะนันทน์ เวิลด์เน็ท จำกัด 
16. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 
17. บริษัท โอทาโร จำกัด 
18. บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด 
19. บริษัท KIRZ จำกัด 
20. บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 
ตัวอย่าง

ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 
ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 

ANET 
บริษัท เอเน็ต จำกัด 
เอเน็ต ให้บริการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ 
- บริการรายบุคคล 
เป็นบริการที่เหมาะกับสมาชิกรายบุคคล หรือ องค์กรขนาดย่อม 
- บริการระดับองค์กร 
เป็นบริการที่เหมาะสำหรับองค์กรระดับกลาง 
ขึ้นไป ซึ่งมีบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่องค์กรต่างๆ 
โดยแบ่งการบริการเป็นแบบ Dial-in, ADSL, 
ISDNCorporate Leased Line 



5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน


ตอบ  IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น

การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง 




อนวัช  ธนสีลังกูร   2/3   เลขที่ 25

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1.จงบอกองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ
ตอบ = องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่

1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น


2.จงเปรียบเทียบความแตกต่างของสัญญาณอนาล็อก กับสัญญาณดิจิตอล

ตอบ= สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือต้องแปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เช่น แรงดันของน้ำ ค่าของอุณหภูมิ หรือความเร็วของรถยนต์ เป็นต้น สัญญาณดิจิตัล (Digital Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดของสัญญาณคงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณเป็นแบบทันที ทันใด กล่าวคือ ไม่แปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น สัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น
3.จงบอกทิศทางของการสื่อสารข้อมูลว่ามีกี่แบบ อะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ=3 แบบ คือ
1. แบบทิศทางเดียว 
2. แบบกึ่งสองทิศทาง 
3. แบบสองทิศทาง 

4.จงบอกคุณสมบัติของสายสัญญาณว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง พร้อมให้จัดลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ

ตอบ=แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 
(1) สายสายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable)เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และนิยมมากในครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายคู่เกลียวบิตและสายใยแก้วนำแสง สายโคแอ็กซ์
สายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable) เรียกสั้นๆว่าสาย (Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า “มีแกนร่วมกัน” ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าตัวนำทั้งสองตัวมีแกนฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบางๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียหุ้มชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ รูปที่ 2.13 แสดงโครงสร้างของสายโคแอ็กเซียล โดยทั่วๆไป
(2) สายคู่เกลียวบิต (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN) สายคู่เกลียวบิตหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนบิตเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิตเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนซึ่งกันและกัน
5.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่ายต่อไปนี้

ตอบ 5.1 Repeater
=Repeater เป็นอุปกรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง Segment ของสายสัญญาณ LAN เข้าจังหวะและสร้างสัญญาณ Digital บนสายสัญญาณขึ้นใหม่ และส่งออกไป
5.2 Bridge
=Bridge ใช้เพื่อยืดระยะเครือข่าย และแบ่งแยกการจราจรของข้อมูลใน Segment โดย Bridge ส่งต่อการจราจรของข้อมูลจากระบบสายสัญญาณหนึ่ง ก็ต่อเมื่อมี Address ปลายทาง ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบสายสัญญาณอีกเส้น ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดการจราจรของข้อมูลที่ไม่จำเป็นบนทั้งสองระบบ
5.3 Switch
=Switch มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับ Switch ใน Port ที่ 1 ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ใดๆ ในเครือข่ายแล้วนั้น คอมพิวเตอร์ตัวแรกก็จะสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้นมาโดยจะประกอบด้วย MAC Address, IP Address ของตัวมันเอง ซึ่งเป็นผู้ส่งและ IP Address ของปลายทางคือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อ แต่จะยังไม่มี MAC Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง นำมาประกอบกันเป็น Frame ต่อจากนั้นจะใช้ Protocol ARP ที่มีอยู่ใน Protocol TCP/IP ในการค้นหา MAC Address ของ คอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่มันต้องการจะติดต่อด้วย โดย Protocol ARP จะทำการ Broadcast Frame นี้ไปยังทุก Port ของ Switch เรียกว่า ARP Request เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ตรงกับ IP Address ที่ต้องการติดต่อทราบ ก็จะตอบกลับว่านี่เป็น IP Address ของฉัน ก็คือคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อ มันจะตอบกลับพร้อมกับใส่ค่า MAC Address ของมันลง ใน ARP Reply ในแบบ Broadcast ด้วย ซึ่งจะทำให้ Switch รับทราบด้วย ต่อจากนั้น Switch ก็จะทำการ Forward ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Port ที่เป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ทั้งสองได้อย่างถูกต้อง และ Switch จะยังเก็บเอาข้อมูลของ Mac Address ต้นทางของทั้งสองเอาไว้ในตาราง Source Address Table ( SAT ) เพื่อเก็บเอาข้อมูล MAC Address กับ Port ที่ติดต่อไว้ใช้ในการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นต่อไป
5.4 Gateway
เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gatewayในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch

6.จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส ( Bus ) กับแบบ
วงแหวน ( Ring)

ตอบ=เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)
ข้อดี คือ สามารถจัดการได้ทั้งเครือข่ายแบบ client/server และแบบ peer-to-peer
ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
• ข้อดี ข่าวสารจะเคลื่อนที่เป็นลำดับไปในทิศทางเดียว ขจัดปัญหาการชนกันของสัญญาณ
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้ 

7. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ ( Physical level ) และระดับตรรก 
(Logical level )
การรับ-ส่งข้อมูลในระดับกายภาพ

ตอบ=เครือข่ายส่วนใหญ่ที่พบเห็นกัน จะใช้สายเคเบิลเส้นทางให้ข้อมูลวิ่งผ่านไปผ่านมา เนื่องจากมีราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย และมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง
แต่บางครั้งก็อาจจะมีการผสมผสานสื่อบางตัวเข้าไปในระบบด้วย เช่น คลื่นวิทยุ เพื่อแก้ไขปัญหาจุดที่อาจเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลได้ลำบาก
ระดับตรรก
โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกเป็นการมองที่วิธีการวิ่ง ของข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกแบบหนึ่งอาจจะรับ-ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบหนึ่งอาจจะเหมาะในการรับ-ส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อยๆ ได้ดี
8.จงอธิบายความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และ
แบบ Client-Server

ตอบ=Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ client-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็น server เพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานและ bandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้ client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล
ระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์หลักอยู่หนึ่งเครื่อง เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องแม่ข่าย ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรม และแชร์ไฟล์หรือโปรแกรมนั้นให้กับเครื่องลูกข่าย อีกทั้งยังทำหน้าที่ประมวลผล และส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปให้เครื่องลูกข่าย ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในเครือข่ายที่ร้องขอ เข้ามา รวมทั้งเป็นยังผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด
เครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย จะสามารถเข้าใช้งานไฟล์ต่าง ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ไม่สามารถเข้าใช้งานไฟล์ในเครื่องอื่นๆ ได้ นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่างๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่นๆ ในระบบ
เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีหน่วยความจำสำรอง (harddisk) ขนาดใหญ่เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมด และควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง ชนิดของเซิร์ฟเวอร์มีได้ 2 รูปแบบคือ
(1) Dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่วๆ ไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงได้
(2) Non-dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน




อนวัช ธนสีลังกูร 2/3 เลขที่ 25

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

1. ยกตัวอย่างลักษณะของงานไฮเปอร์มีเดีย

ตอบ=  ไฮเปอร์มีเดีย (สื่อหลายมิติ)
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาความรู้ต่างๆ ทั้งในรูปของ ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่างๆ ของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ ไฮเปอร์มีเดียเป็นการขยายแนวความคิดมาจากไฮเปอร์เทกซ์ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประสมประสานสื่อหรืออุปกรณ์หลายอย่าง(Multiple media) ให้ทำงานไปด้วยกันซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)

 2.ให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลประเภทไฮเปอร์มีเดียมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

ตอบ=   ไฮเปอร์มีเดียสามารถใช้สำหรับจุดประสงค์ที่แตกต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ
1.การสืบค้น Browsimg ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
2.การเชื่อมโยง Linkimg ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยังแฟ้มข้อมูลต่างๆ
3.สร้างบทเรียน Authoring หรือสร้างโปรแกรมการนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ

3.ยกตัวอย่างลักษณะของโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในงานไฮเปอร์มีเดีย

ตอบ=  โปรแกรมสำหรับสร้างงานไฮเปอร์มีเดียเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้ภาพ เสียง ตัวอัษรและการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์

4.นักศึกษาทดลองใช้โปรแกรมสร้างงานไฮเปอร์มีเดีย
เช่น ToolBook, Macromedia, Director, Macromedia Authoware อย่างน้อย 1 โปรแกรม


ตอบ=  โปรแกรมศึกษามาคือโปรแกรมขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเรียนรูปแบบใด จะเริ่มด้วยการกำหนดหัวเรื่อง เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แลพกลุ่มเป้าหมายสื่อมัลติมิเดียจะมีอยู่ 7 ขั้นตอน
1.ขั้นการเตรียม
2.ขั้นตอนการออกแบบการเรียน
3.ขั้นตอนการเขียนผังงาน
4.ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด
5.ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม
6.ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน
7.ขั้นตอนการประเมิณผลและแก้ไขบทเรียน



อนวัช ธนสีลังกูร 2/3 เลขที่ 25

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 อนวัช ธนสีลังกูร 2/3 เลขที่ 25

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.จงอธิบายลักษณะของข้อมูลที่ดีว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ตอบ   ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (accuracy) ข้อมูลจะมีความถูกต้องและเชื่อถืได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นกับวิธีการที่ใช้ในการควบคุมข้อมูลนำเข้า และการควบคุมการประมวลผลการควบคุมข้อมูลนำเข้าเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลนำเข้ามีความถูกต้องเชื่อถือได้ เพราะถ้าข้อมูลนำเข้าไม่มีความถูกต้องแล้วถึงแม้จะใช้วิธีการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลที่ดีเพียงใด ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไม่มีความถูกต้อง หรือนำไปใช้ไม่ได้ ข้อมูลนำเข้าจะต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ข้อมูลบางอย่างอาจต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอาจต้องพิมพ์ข้อมูลมาตรวจเช็คด้วยมือก่อน การประมวลผลถึงแม้ว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลนำเข้าแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้ เช่น เกิดจากการเขียนโปรแกรมหรือใช้สูตรคำนวณผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดวิธีการควบคุมการประมวลผลซึ่งได้แก่ การตรวจเช็คยอดรวมที่ได้จากการประมวลผลแต่ละครั้ง หรือการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูลสมมติที่มีการคำนวณด้วยว่ามีความถูกต้องตรงกันหรือไม่
  ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) ได้แก่ การเก็บเฉพาะข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเท่านั้น ไม่ควร เก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน เพราะจะทำให้เสียเวลาและเสียเนื้อที่ในหน่วยเก็บข้อมูล แต่ทั้งนี้ข้อมูลที่เก็บจะต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย
  ข้อมูลมีความทันสมัย (timeliness) ข้อมูลที่ดีนั้นนอกจากจะเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้แล้วจะ ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ได้ทันเวลา นั่นคือจะต้องเก็บข้อมูลได้รวดเร็วเพื่อทันความต้องการของผู้ใช้


2. จงอธิบายองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  พร้อมทั้งยกตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่ใช้ใน

ตอบ  องค์ประกอบของฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลโดยมีซอฟแวร์หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ได้ข้อมูลตามผู้ใช้ต้องการ องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
2. โปรแกรม ( Program )
3. ข้อมูล ( Data )
4. บุคลากร ( People )
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Procedures )

3. จงอธิบายประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล

ตอบ ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับระบบฐานข้อมูลกันมาก เนื่องจากระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล


เนื่องจากการใช้งานระบบฐานข้อมูลนั้นต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อให้มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลน

้อยที่สุด จุดประสงค์หลักของการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อการลดความซ้ำซ้อน สาเหตุที่ต้องลดความ

ซ้ำซ้อน เนื่องจากความยากในการปรับปรุงข้อมูล

2.รักษาความถูกต้องของข้อมูล

เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบกฎบังคับความถูกต้องของข้อมูลให้ได้ โดยนำกฎ

เหล่านั้นมาไว้ที่ฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะจัดการเรื่องความถูกต้อง

ของข้อมูลให้แทน

3. มีความเป็นอิสระของข้อมูล

เนื่องจากมีแนวคิดที่ว่าทำอย่างไรให้โปรแกรมเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล ใน

ปัจจุบันนี้ถ้าไม่ใช้ระบบฐานข้อมูลการแก้ไขโครงสร้างข้อมูลจะกระทบถึงโปรแกรมด้วย เนื่องจากใน

การเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบแฟ้มข้อมูลนั้น

4. มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง

ถ้าหากทุกคนสามารถเรียกดูและเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งหมดได้ อาจก่อให้เกิดความเสีย

หายต่อข้อมูลได้ และข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลที่ไม่อาจเปิดเผยได้หรือเป็นข้อมูลเฉพาะของผู้

บริหาร หากไม่มีการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล ฐานข้อมูลก็จะไม่สามารถใช้เก็บข้อมู

ลบางส่วนได้

5. ใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง

มีการควบคุมการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลจากศูนย์กลาง ระบบฐานข้อมูลสามารถรองรับการทำงานของผู้

ใช้หลายคนได้ กล่าวคือระบบฐานข้อมูลจะต้องควบคุมลำดับการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เช่น

ขณะที่ผู้ใช้คนหนึ่งกำลังแก้ไขข้อมูลส่วนหนึ่งยังไม่เสร็จ


4. จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
  4.1  MIS 
  4.2  DSS
  4.3  ES
  4.4  DP
  4.5  EIS

ตอบ  MIS ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง(เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ

DSS คือ DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์

ES คือ ES (หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ) เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้สามารถคิด/ วิเคราะห์หาคำตอบ สำหรับสถานการณ์ใดๆ

ลักษณะการคิด/ วิเคราะห์ของ ES ได้ถูกจำลอง หรือลอกเลียนแบบมาจาก วิธีการคิด/ วิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ

ระบบประมวลผลข้อมูล (DP)ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System : DP) หรือ 
เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายงานประจำวัน (Transaction) และการเก็บรักษาข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือ รายงานประจำเดือน

EIS ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

คุณสมบัติของระบบ EIS

- มีการใช้งานบ่อย

- ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง

- ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร

- การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม

- การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน

- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย

- การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ

- ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด



5.  จงอธิบายความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศดังต่อไปนี้
  5.1 MIS กับ DP
  5.2 DSS กับ MIS
  5.3 EIS กับ DSS


ตอบ MIS กับ DP คือระบบประมวลผลรายการ (TPS) หรือ ระบบประมวลผลข้อมูล(DP)จะใช้แฟ้มข้อมูลแยกกันเนื่องจากการทำงานแยกกันในแต่ละฝ่าย เช่น ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการรับใบสั่งสินค้าจากลูกค้า ประมวลรายการสินค้า บันทึกรายการขาย ดูแลการส่งสินค้า ควบคุมคลังสินค้า และการบัญชี ส่วนระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) จะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันและมีการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่ายทำให้ MIS มีความยืดหยุ่นในการสร้างสารสนเทศให้กับ ผู้บริหารตามความต้องการ

DSS กับ MIS ความแตกต่างของระบบ DSS และ MIS

สารสนเทศ (Information) หมายถึงข่าวสารที่ได้จากการนำ ข้อมูลดิบ (rawdata) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที


EIS กับ DSSความแตกต่างระหว่าง EIS กับ DSS และ MIS MIS = เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง – ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ TPS เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Production Control, Sales forecasts, financial analysis, และ human resource management เป็นต้น

DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น

EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไปสู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น









อนวัช ธนสีลังกูร เลขที่ 25  2/3